วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

เริ่มต้นใช้งาน label และกำหนดค่า properties

เริ่มต้นใช้งาน Label และกำหนดค่า Properties


เริ่มต้นด้วยการสร้างโปรเจ็คขึ้นมาใหม่ ไปที่ New จะปรากฏหน้าต่างโปรแกรมสำหรับตั้งชื่อโปรเจ็ค ให้เราตั้งชื่อตามที่ต้องการในที่นี้ผมตั้งว่า HelloCat หลังจากตั้งชื่อเสร็จแล้วคลิกที่ OK



     จะเข้าสู่หน้าต่าง Design ของโปรแกรม AppInventor ทันที่หลังจากที่เราตั้งชื่อโปรเจ็คเสร็จเรียบร้อย  ซึ่งหน้าต่างนี้จะใช้เป็นหน้าต่างสำหรับออกแบบและตั้งค่าต่างๆ ให้กับโปรแกรมของเรา


คลิกเลือกที่  Label ซึ่งอยู่ในส่วนของเครื่องมือ ทางด้านซ้ายมือ ในหมวดหมู่ เครื่องมือพื้นฐาน Basic คลิกลากแล้วนำไปวาง (drag & drop)ไว้ที่หน้าจอ Screen 1 เพื่อสร้างหน้าตาของโปรแกรม ที่จะแสดงผลเช่นเดียวกันกับหน้าจอมือถือนั่นเอง



เราสามารถแก้ไขข้อความได้โดยไปที่ Properties 




ที่อยู่ขวามือแล้วเลือกที่หัวข้อ Text ดังภาพ เพื่อทำการแก้ไขข้อความที่จะแสดงบนหน้าจอ 



หลังจากที่ทำการปรับเปลี่ยนข้อความเสร็จเรียบร้อยก็จะได้ข้อความปรากฏขึ้นที่หน้าจอแสดงผล



BackgroundColor  ใช้สำหรับปรับแต่งสีพื้นหลังให้กับข้อความที่เราสร้างขึ้น



สีต่างๆที่โปรแกรมมีไว้ให้



FontBold  ใช้สำหรับปรับแต่งขนาดของข้อความให้เป็นตัวหนาขึ้น


Fontltalic  ใช้สำหรับปรับแต่งข้อความให้เป็นตัวเอียง




FontSize ใช้สำหรับปรับขนาดตัวอักษร



FontTypeface ใช้สำหรับเลือกรูปแบบของตัวอักษร



 รูปแบบตัวอักษรที่สามารถใช้งานได้







Text  ข้อความที่ต้องการแสดงบนหน้าจอ เราสามารถพิมพ์ใส่ในช่องว่างได้เลย ซึ่งข้อความที่พิมพ์เข้าไปจะแสดงผลออกทางหน้าต่างโปรแกรม



TextAlignment  ใช้สำหรับจัดตำแหน่งข้อความในการแสดงผล


ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะให้ข้อความชิดซ้าย ตรงกลาง ชิดขวา



TextColor  ใช้สำหรับปรับแต่งสีให้กับข้อความตัวอักษร





สีต่างๆที่สามารถใช้งานได้



Visible เป็นการกำหนดให้แสดงผลข้อความหรือไม่แสดงผลข้อความบนหน้าต่างโปรแกรมคลิกเลือกเครื่องหมายถูกเพื่อเลือกให้แสดงผลข้อความบนหน้าต่างโปรแกรม


คลิกเลือกเครื่องหมายถูกออกเพื่อไม่แสดงผลข้อความบนหน้าต่างโปรแกรม


Width  ใช้สำหรับกำหนดขนาดพื้นที่ความกว้างสำหรับแสดงผลใดๆ ซึ่งเราสามารถเลือกแสดงผลได้
ตัวเลือกการแสดงผลบนหน้าจอแบบต่างประกอบไปด้วย Automatic  , Fill parent และกำหนดขนาดเองหน่วยเป็น pixels หลังจากนั้นคลิกที่ปุ่ม OK



Automatic แสดงพื้นที่สำหรับข้อความโดยโปรแกรมจะสร้างให้โดยอัตโนมัติซึ่งเป็นถือเป็นค่าดีฟอลต์








Fill parent แสดงพื้นที่ข้อความเต็มขนาดของหน้าจอแสดงผล


แบบสุดท้ายเป็นแบบที่กำหนดขนาดเอง มีหน่วยเป็น pixels



Height  ใช้สำหรับกำหนดขนาดพื้นที่ความสูงในการแสดงผลใดๆ ซึ่งเราสามารถเลือกแสดงผลได้โดยการใช้งานคำสั่งเหมือนกับคำสั่ง Width ต่างกันที่การแสดงผลเป็นความสูงนั่นเอง










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น