วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แนะนำ AppInventor Offline เวอร์ชั่น 1.5


บทความนี้จะพูดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลง อย่างเห็นได้ชัด กับ app inventor ที่ทำงานในแบบ offline กับเวอร์ชั่น 1.5 แต่มีการเปลี่ยนแปลงหน้าตาโปรแกรม และรูปแบบการแสดงผล เริ่มกันเลยครับ

การเข้าใช้งานยังเหมือนเดิมครับ   localhost : 8888
การยอมรับข้อตกลงเพื่อเข้าใช้งาน ก็ยังเหมือนเดิม

การสร้างโปรเจ็คใหม่ก็เหมือนเดิมครับ

 มุมมองหลักการออกแบบเปลี่ยนไปเล็กน้อย

ตำแหน่งที่อยู่รายชื่อคอมโพเน้นท์กับตำแหน่งมุมมองออกแบบ เวอร์ชั่นเก่ากับเวอร์ชั่นนี้ มันสลับที่กัน

เราสามารถเลือกสลับการใช้งานหน้าต่าง Designer (การออกแบบ) กับ Blocks Editor (Code)ได้เลย โดยไม่ต้องเปิดโปรแกรม  Block Editor ขึ้นมาอีกเหมือนเวอร์ชั่นก่อน


เครื่องมือสำหรับบล็อกอิดิเตอร์ยุบเหลือแค่หัวข้อ Blocks อย่างเดียวครับ  นำมารวมกันไว้แนวเดียวเลย ผมว่าสะดวกดีน่ะครับ ไม่เปลืองพื้นที่ดี

รูปร่างหน้าตาที่เปลี่ยนไปนิดหน่อย สีสันสวยงามดูน่าใช้มากขึ้น 


คุณสมบัติต่างๆของคุอมโพเน้นท์แต่ละตัวถูกเก็บไว้รวมกัน หลังดอท

 เวลาใช้งานเพียงแค่คลิกเลือกก็สามารถใช้ได้เหมือนรูปแบบเดิม อันนี้ผมว่าดี เพราะทำให้ไม่รกพื้นที่ เวลาเขียนโค๊ดก็คลิกลิสรายการเอา


การเชื่อมต่อแบบไร้สาย ผ่าน wifi ด้วยโปรแกรม MIT Companion ก็เปลี่ยนไป  ต่อไปก็คงไม่ต้องใช้สาย เชื่อมต่อกันผ่านไวไฟอย่างเดียว


มันเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น เพราะเท่าที่ผมทดสอบใช้งานดู ยังทำงานได้ไม่ดีทำไร  เรื่องการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์แอนดรอยด์ยังมีปัญหา   เรื่องการจำลองเซิฟเวอร์ก็ยังมีปัญหา คงต้องต่อกันต่อไป แต่ก็ดูมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อยๆตามลำดับ  ไว้มีข่าวคราวความเคลื่อนไหวเมื่อไร จะอัพเดทให้ใหม่น่ะครับ   










วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

accelerometer sensor ตอนที่ 1


Accelerometor Sensor เป็นโมดูลเซนเซอร์ตัวหนึ่งที่ถูกติดตั้งอยู่บนตัวเครื่องของอุปกรณ์แอนดรอยด์ ไม่ว่าจะเป็นสมาทโฟน หรือว่าแท็บเล็ต
รายละเอียดอ่านได้จากที่นี่ครับ เป็นบล็อกของคุณเอก วิศวกรผู้เชียวชาญการเขียนโปรแกรมบนแอนดรอยด์เขียนไว้ดีมากครับ http://www.akexorcist.com/2013/03/android-code-accelerometer.html   ความรู้ผมสู้ไม่ได้ครับ  55 

ผมขอสรุปสั้นๆเพื่อให้เข้าใจอย่างนี้น่ะครับว่า ในการใช้งาน Accelerometor sensor นั้น จะอาศัย การอ่านค่าของเซนเซอร์ จากแกน X Y และ Z   แล้วนำค่าที่ได้มาเขียนเป็นเงื่อนไขในการใช้งานโปรแกรมตามต้องการ



การอ่านค่าแกน X Y  มีทั้งบวกและลบ  เพราะฉะนั้นเอียงไปด้านไหน ค่าก็จะได้ตามนั้น ครับ


 การอ่านค่าแกน  X Y และ Z


ออกแบบหน้าตาโปรแกรม โดยค่าที่อ่านได้จาก Accel X  Accel Y  จะนำไปแสดงผลแทนที่ของ Label  โดยในตัวอย่างจะใช้ภาพเป็นตัวแสดงผล การเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งในแนวแกน X Y เพราะฉะนั้นเมื่อเราเอียงอุปกรณ์แอนดรอยด์ของเราไปด้านไหน ภาพก็จะเลื่อนไปยังตำแหน่งนั้นๆ


ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมด้วย AppInventor เพื่ออ่านค่าจาก Accelerometor ในแนวแกน X Y Z ค่าที่อ่านได้จะไปแสดงที่ label ที่ชื่อ XAccel  และ YAccel   ส่วนค่าของ Z ในที่นี้ไม่ได้ใช้งาน เลยขี้เกียจเขียน


ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน  Accelerometor sensor  เพื่อให้ภาพเคลื่อนที่ไปในแนวแกน X Y  โดยมีการใช้เงื่อนไขในการตรวจเช็คค่าที่ได้จากเซนเซอร์ว่ามีค่ามากหรือน้อยกว่าค่าที่กหนดไว้ เช่น ถ้าค่าของเซนเซอร์ที่อ่านได้ในแนวแกน X มีค่ามากกว่า 2  ให้ภาพเคลื่อนที่ไปข้างหน้า  ถ้าค่าที่อ่านได้น้อยกว่า 2 จะให้ภาพเคลื่อนที่ไปข้างหลัง  ซึ่งในการเคลื่อนที่ของภาพแต่ละครั้งจะเคลื่อนไปหน้าหรือหลัง ครั้งละสองพิกเซล  


สังเกตการทำงานของโปรแกรม


วีดีโอทดสอบการทำงานของโปรแกรม   พอดีกล้องวีดีโอแบตหมดเลยใช้การซิมมูเลตแทน  เอาไว้จะอัดใหม่แล้วกันน่ะครับ 

ดาวน์โหลดซอร์สโค๊ด   ตัวอย่างปรับแก้ดูครับ ลองเอาไปทำเกมส์ได้น่ะครับ


บทความหน้าจะมีเรื่องราวเกี่ยวกับการควบคุมหุ่นยนต์ พร้อมกับการทำเกมส์เล่นแบบขำๆมาฝากน่ะครับ

วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Slider

Slider เครื่องมือตัวใหม่ที่เพิ่มเติมเข้ามา  วันนี้ผมจะแนะนำการใช้งานเบื้องต้น
 ทดสอบโดยการเลือกเครื่องมือ slider นำไปวางไปยังพื้นที่ว่างหน้าจอ


นำเครื่องมือ Label มาวางต่อ จากนั้นปรับแต่งค่าคุณสมบัติต่างๆตามต้องการ

เราสามารถปรับสีของสไลด์ด้านขวา และ ด้านซ้ายได้ ค่าปกติจะเป็นสีส้มกับสีเทา  
  • MaxValue เป็นค่าสูงสุดของสไลด์ที่สามารถอ่านได้ ซึ่งเราสามารถตั้งได้ตามต้องการ
  • Min Value เป็นค่าตำสุดที่สามารถอ่านได้จากสไลด์  ตั้งได้ตามต้องการ
  • ThumbPosition เป็นค่าตำแหน่งของตัวของตัวสไลด์



ทดสอบการทำงานเขียนคำสั่งตามภาพ 


ผลการทำงาน